18 วิธี ปรับปรุงโทนเสียงกีตาร์
หัวข้อที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดในการเล่นกีตาร์! ลองมาดูวิธีที่ดีที่สุดเพื่อโทนเสียงที่ดีที่สุดของกีตาร์คุณ
1. เปลี่ยนปิ๊กกีตาร์
โดยพื้นฐานแล้วการเลือกปิ๊กกีตาร์นั้นมีผลต่อโทนเสียง เช่น เพลงอคูสติกที่ต้องค่อยๆ ดีดเบาๆ ในเพลงช้าบัลลาดสไตล์ซอฟต์ร็อค ซึ่งทั่วไปแล้วเหมาะกับการใช้ปิ๊กที่อ่อนและบางมากกว่า อย่างวัสดุที่เป็นพลาสติก, Tortex แต่ถ้าหากอยากได้โทนเสียงที่มีฮาร์โมนิกเข้มข้นบนกีตาร์ไฟฟ้าสไตล์ Queen หรือ ZZ Top ก็อาจจะเหมาะที่สุดที่จะใช้ปิ๊กโลหะบนสายกีตาร์โลหะ ควรทดลองใช้ปิ๊กหลายๆ แบบเพื่อหาว่าแบบไหนเหมาะกับตัวเรามากที่สุด
2. ลองใช้สายเบอร์ต่างๆ
บางคนอาจจะรู้สึกว่าสายที่ใหญ่กว่าให้เสียงที่ดีกว่า แต่มันก็ไม่เสมอไป สิ่งที่เรารู้อย่างแน่นอนคือเราสามารถทำให้โทนเสียงที่เล่นออกมานั้นแตกต่างกันได้ด้วยสายที่เหมือนกันแต่คนละเบอร์กัน Stevie Ray Vaughan เล่นกีตาร์ Strat ด้วยนิ้วมือของเขากับสายกีตาร์เบอร์ .013, Billy Gibbons เพื่อนของเขา ใช้สายที่เล็กที่สุดเพียง .007 ดังนั้นจึงไม่มีคำว่าถูกหรือผิด มีแต่เพียงแค่อะไรที่เหมาะกับคุณเท่านั้น
3. วัสดุและโครงสร้างสาย
การเลือกเบอร์ของสายไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อเสียง บริษัทผลิตสายต่างๆ มีวัสดุโลหะผสม (Alloys) ที่หลากหลายและมีวิธีการสร้างและผลิตที่แตกต่างกัน รวมถึงขนาดของแกนและขดลวดที่พันรอบแกน ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการสัมผัสและโทนเสียง การค้นหาสิ่งที่เหมาะกับคุณอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าสายแบบ Flatwound นั้นมีความแบนเรียบเป็นพิเศษ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนำมาใช้กับดนตรีแจ๊ส ส่วน Roundwound จะมีความกลม ซึ่งใช้ได้กับแนวดนตรีทั่วๆ ไปมากกว่า ส่วนใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกสายกีตาร์แบบไหนดี ก็ยังมีสายกีตาร์แบบ Half-Rounds ให้เลือก สายที่ไม่แบนและไม่กลมจนเกินไป
4. ปล่อยให้เรื่องของเสียงเบสเป็นหน้าที่ของกีตาร์เบส
คุณอาจจะผิดหวังเมื่อได้ยินว่า เสียงเบสที่มากขึ้นในกีตาร์ของคุณไม่ได้หมายความว่าเสียงกีตาร์จะอ้วนหนาขึ้น อย่างน้อยก็เมื่อมีมือเบสอยู่ในวงของคุณซึ่งรับผิดชอบเรื่องของเสียงต่ำในดนตรี ไม่คิดที่จะพยายามแข่งกับเสียงเบส ปล่อยให้เรื่องของเสียงต่ำเป็นหน้าที่ของกีตาร์เบส และหันมามีความสุขกับการเล่นอยู่ในโทนเสียงกลาง แล้วคุณจะพบว่า การผสมผสานเสียงเข้าไปในดนตรีของคุณนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น และเสียงดนตรีของคุณจะเด่นชัดยิ่งขึ้นด้วย
5. ลดเสียงแตกเมื่อเปิดระดับเสียงแอมป์ดังขึ้น
การตั้งค่าบอร์ดเอฟเฟคอย่างพิถีพิถันที่บ้าน มักจะไม่ดีสมบูรณ์แบบเมื่อนำไปใช้ในการแสดงสดที่มีเสียงดัง เมื่อคุณเร่งระดับเสียงแอมป์ของคุณให้ดังขึ้น คุณอาจจะต้องการระดับเสียงแตกดิสทอร์ชั่นที่น้อยกว่าเมื่อเล่นอยู่ที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอมป์ชนิดหลอด ซึ่งเสียงแตกดิสทอร์ชั่นเป็นผลมากจากภาคพาวเวอร์แอมป์ของแอมป์ชนิดหลอด ดังนั้นเวลาที่คุณฝึกในห้องซ้อมในห้องซ้อม คุณควรจะหาเวลาเพื่อหาระดับเสียงที่เหมาะสมสำหรับการเล่นบนเวทีด้วย
6. ใช้ EQ ในการขจัดเสียงหอน
หากในการแสดงของคุณมีการเล่นเสียงดังหรือ Gain ที่สูง คุณอาจจะต้องเคยเจอกับเสียงหอนรบกวน (Feedback) ในหลายๆ โอกาส ทางออกหนึ่งคือการมีเอฟเฟคที่มีอีคิว (EQ) ในหลายๆ ย่านความถี่ (band) ไว้บนบอร์ดของคุณ และยิ่งมีย่านความถี่เสียงให้ปรับมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี คุณจะต้องตัดย่านความถี่ให้แคบลงตรงที่ย่านความถี่เดียวกันกับเสียงหอนนั้น โปรดรู้ไว้ว่าในแต่ละสถานที่จะมีเสียงหอนที่แตกต่างกัน ดังนั้นโปรดเตรียมพร้อมที่จะปรับอีคิวทุกๆ ครั้งที่คุณเล่น
7. ใส่สายม้วนไปทางด้านบนของสะพานสาย Tune-O-Matic
การใส่สายกลับด้านย้อนกลับเข้าไปในเทลพีซ (tailpiece) ของกีตาร์เลสพอล (Les Paul) จากนั้นก็ม้วนขึ้นด้านบนข้ามสะพานสายไปแล้วใส่สายตามปกติที่ส่วนหัวของกีตาร์ คุณอาจจะต้องขันน็อตของเทลพีซให้แน่นมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ความตึงของสายกีตาร์บนสะพานสายที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้ผู้เล่นกีตาร์เลสพอลหลายคน เช่น โจ บอนนามัสซ่า (Joe Bonamassa) ยืนยันว่าจะเพิ่มความกังวานของเสียงกีตาร์
8. ปรับแต่งปุ่มวอลลุ่มด้วย Treble Bleed
ปุ่มวอลลุ่มทั่วไปจะสามารถทำให้เสียงแหลมลดลงได้เมื่อปรับระดับเสียงลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก low-pass filter เมื่อคุณเปลี่ยนระดับความดังของเสียง คุณสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วย Treble Bleed ซึ่งอาจจะเป็นคาปาซิเตอร์ (Capacitor) ที่เชื่อมต่อในแบบขนาน (parallel) กับพอทวอลลุ่ม ซึ่งค่าที่นิยมจะอยู่ที่ 150k resistor กับ 0.001uf cap หรือ 100k/0.002uf.
9. เพิ่มพอทโทนให้กับปิ๊กอัพบรดิจ์ของ Strat
อันนี้มีผลมากและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยทั่วไปปุ่มโทนตัวที่สองของกีตาร์ Strat วินเทจจะใช้สำหรับปิ๊กอัพตัวกลาง แต่ปิ๊กอัพตัวสะพานสายจะมีเสียงที่แหลมคมกว่า ดังนั้นมันง่ายมากที่จะย้ายพอทโทนจากการควบคุมปิ๊กอัพในตำแหน่งกลางไปยังตำแหน่งสะพานสาย เพียงแค่หาสายไฟที่เชื่อมกันระหว่างซีเล็กเตอร์และพอทโทนตัวที่สอง จากนั้นย้ายตำแหน่งของสายไฟบนซีเล็กเตอร์เข้าไปทางตรงกลางของซีเล็กเตอร์เพียงหนึ่งตำแหน่ง (เมื่อเทียบกับตำแหน่งเดิม)
10. ปรับแต่ Action กีตาร์ของคุณให้สูงขึ้น
แน่นอนว่ามันง่ายกว่าที่จะเล่นโซโล่ได้อย่างรวดเร็วเมื่อระดับความสูงต่ำของสาย (Action) อยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าหากว่าคุณไม่ใช่สายโซโล่ เราจะแนะนำให้คุณปรับระดับความสูงต่ำของสายกีตาร์ให้สูงขึ้นมาอีก คุณจะเห็นได้ว่ายิ่งคุณปรับให้ระดับสายต่ำมากยิ่งขึ้นเท่าไร โอกาสที่สายจะติดเฟรตก็มีมากขึ้นเท่านั้น โทนเสียงจะดีขึ้นมาในทันทีด้วยการปรับระดับสายให้สูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
11. จัดเรียงลำดับแพดเดิ้ลเอฟเฟคของคุณให้ถูกต้อง
การจัดเรียงแพดเดิ้ลเอฟเฟคตามกฏเกณฑ์ของการไหลผ่านของสัญญาณเสียงเพื่อให้ได้โทนเสียงที่ยอดเยี่ยมแบบไม่ต้องไปลองผิดลองถูก จำไว้เสมอว่า แป้นเหยียบวาว (Wah) มาในอันดับแรก ก่อนหน้าปรีแอมป์ (Preamps) และเสียงแตก (Distortion/Drive) โดยเสียบตรงเข้ากับอินท์พุตของตู้แอมป์ หากแอมป์ของคุณมีช่องต่อเอฟเฟคลูป (Effect Loop) ให้เพิ่มเอฟเฟคดีเลย์ (Delay), โมดูเลชั่น (Modulations) และรีเวิร์บ Reverb ตามลำดับ เอฟเฟคเหล่านี้จะสร้างสัญญาณเสียงซ้ำขึ้นมาอีก ซึ่งเสียงเอฟเฟคเหล่านี้จะดียิ่งขึ้นหลังจากเสียงแตก โดยปกติแล้วตำแหน่งที่ดีที่สุดของคอมเพรสเซอร์ (Compressors) จะอยู่ที่ลำดับแรกของบอร์ด (เหมาะสำหรับแนวฟังก์) หรือลำดับสุดท้าย (คล้ายกับคอมเพรสเซอร์ในสตูดิโอ เหมาะสำหรับโทนเสียงโซโล่ที่ราบรื่น) สิ่งนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าหากใครอยากจะลองสูตรการจัดเรียงแบบอื่นๆ ก็ไม่ถือว่าผิด
12. ปรับระดับความสูงต่ำของปิ๊กอัพ (Pickup)
นี่เป็นเคล็ดลับที่หลายๆ คนอาจมองข้าม ในทางทฤษฎีแล้ว การยกปิ๊กอัพของคุณให้สูงขึ้นใกล้กับสายควรจะเพิ่มระดับของเอาท์พุต อย่างไรก็ตามปิ๊กอัพที่ยกใกล้กับสายมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดเสียงรบกวนได้ (Wolf Notes) เมื่อสนามแม่เหล็กของปิ๊กอัพกีตาร์รบกวนการสั่นสะเทือนตามธรรมชาติของสาย ก็จะทำให้เกิดเสียงอันไม่พึงประสงค์ สิ่งที่ควรจะเป็นคือความสมดุลกันระหว่างเอาท์พุตและโทนเสียง
13. ใช้ String-Mutes สำหรับเสียงโซโล่ที่สะอาด
ต้องถามก่อนว่า สไตล์การเล่นของคุณต้องการเสียงที่สะอาดหรือป่าว เพราะถ้าสไตล์การเล่นของคุณต้องการเสียงที่สะอาดก็ต้องลองใช้ Fret wrap หรือผ้าพันเฟรต ที่สามารถช่วยขจัดเสียงรบกวน Overtones และ Resonances จากสายกีตาร์ ช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้นในขณะที่เล่น นอกจากนี้คุณยังสามารถวางโฟมไว้ระหว่างสะพานสาย (Bridge) และเทลพีซ (Tailpiece) ของกีตาร์สไตล์ Lespaul ก็ได้
14. เพิ่มบัฟเฟอร์ (Buffer)
สายแจ็คที่ยาวและแป้นเหยียบเอฟเฟคที่เชื่อมต่อกันหลายๆ ตัวจะทำให้โทนเสียงของคุณแย่ลงได้ คุณสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการเพิ่มบัฟเฟอร์ (Buffer) ลงบนบอร์ดเอฟเฟค ถ้าหากว่าคุณมีเอฟเฟคหลายตัวอยู่บนบอร์ดอยู่แล้ว ก็มีโอกาสที่บัฟเฟอร์จะรวมอยู่ในเอฟเฟคเหล่านั้น
ถ้าหากว่าสายสัญญาณนั้นยาวเกินไป (และคุณไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นสายสัญญาณที่สั้นกว่าได้) การวางบัฟเฟอร์ไว้ในตำแหน่งแรกสุดของการเชื่อมต่อจะช่วยได้ และถ้าหากว่าไม่สามารถสลับตำแหน่งของเอฟเฟคได้ คุณสามารถหาซี้อบัฟเฟอร์ได้ในราคาไม่แพง
15. ลองบู๊ท (Boost) เสียงคลีน
เรียกว่าเป็นอาวุธลับบนบอร์ดเอฟเฟคเลยก็ว่าได้ การบู๊ทเสียงคลีนจะเพิ่มระดับเสียงสัญญาณ โดยประมาณ 15-20 เดซิเบล หากคุณชอบโทนเสียงของแอมป์หลอดและไม่ต้องการให้โทนเสียงเปลี่ยนแปลงไป เอฟเฟคบู๊ทจะเหมาะสำหรับคุณ โดยสามารถใช้ชั่วคราวสำหรับบู๊ทเสียงในการเล่นโซโล่หรือเปิดไว้ตลอดสำหรับโทนเสียงที่คมชัดขึ้น
16. เซ็ตอัพกีตาร์
เป็นสิ่งที่ทุกๆ คนรู้ แต่การรักษากีตาร์ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากมันได้อย่างสูงสุด เราขอแนะนำว่าให้คุณไปพบช่างกีตาร์เพื่อเซ็ตอัพกีตาร์อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
17. ระบุปัญหาของโทนเสียงเป็นอันดับแรก
บางครั้งการหาโทนเสียงที่ดีที่สุดก็ไม่ใช่คำตอบ หากคุณชอบเสียงของกีตาร์ที่คุณซื้อมา ให้ถามตัวเองว่าจำเป็นต้องอัพเกรดมันจริงๆ หรือไม่ บางทีแค่การปรับแต่งกีตาร์ที่คุณมีอยู่แล้วก็เพียงพอแล้ว
18. ใช้แอมป์ที่มีขนาดเหมาะสม
แอมป์หลอดจะมีจุดที่เหมาะสม (Sweet Spot) สำหรับโทนเสียงที่ดีที่สุด แต่สำหรับแอมป์ Fender จากประสบการณ์ส่วนใหญ่การปรับวอลลุ่มหลัก (Master Volume) จะอยู่ที่ระดับ 4-8 หากคุณพบว่าแอมป์หลอดมีเสียงที่แข็ง แตก หรือกระด้างเกินไป อาจเป็นเพราะไม่ได้ปรับวอลลุ่มดังมากพอเพื่อที่แอมป์จะได้ทำงานได้เต็มที่